วิสัยทัศน์
“ชุมชนน่าอยู่ คุณภาพชีวิตที่ดี สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
ชุมชนน่าอยู่ (Livable commuities)
ส่งเสริมสนับสนุนศาสนา ฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเกษตรอินทรีย์ ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ระบบพลังงานทดแทนและทางเลือก การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค กลุ่มองค์กรสตรี กลุ่มอาชีพและกิจกรรมต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัวและชุมชน จัดให้มีระบบสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ พัฒนาและส่งเสริมการท่งเที่ยวเชิงนิเวศน์
คุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of life)
จัดสร้าง พัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบการสื่อสาร ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง แหล่งน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค สร้างความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งเสริมฟื้นฟูการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน สนับสนุนการศึกษาในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการสาธารณสุขและสุขภาพพลานามัยที่ดี พัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐาน ส่งเสริมบทบาทของ อสม.และอาสาสมัครด้านต่าง ๆ
สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
มุ่งการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความสมดุลหรือเกื้อกูลกัน ในระหว่างมิติการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม จิตใจ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นองค์ประกอบในการทำให้ชีวิตในชุมชนอยู่ดีมีสุข ทั้งสำหรับคนในรุ่นปัจจุบัน และคนในอนาคต และเข้าสู่ตำบลสุขภาวะ ใน 4 มิติ ดังนี้
• มิติทางเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้มีฐานรากมั่นคง แข่งขันได้และสามารถพึ่งตนเองได้ โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดหลัก มุ่งเน้นการเกษตรอินทรีย์ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และการรวมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน
• มิติทางสังคม มุ่งเน้นการพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ทำให้คนดำรงชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสุขภาพ และระบบสวัสดิการชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมีความสงบสุข เกิดความรักเอื้ออาทร รู้รักสามัคคี สมานฉันท์และชุมชนมีความเข้มแข็ง
• มิติทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน การใช้พลังงานทางเลือกและทดแทน ที่สะอาดปลอดภัย เพื่อการมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี
• มิติทางการเมืองการปกครอง มุ่งสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และตามแนวคิดประชาสังคม คือ การพัฒนาที่เกิดจากความคิดริเริ่มของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน โดยยึดหลัก
(1) การมีส่วนร่วมของประชาชน
(2) บทบาทหญิงชายที่เท่าเทียมกัน
(3) ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา
(4) มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน